กุ้งขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Litopenaeus vannamei) มีลำตัวขาวใส ขามีสีขาว หางสีแดง โดยเฉพาะบริเวณปลายหางจะมีสีแดงเข้ม กรีจะมีแนวตรงปลายงุ้มลงเล็กน้อย เมื่อโตขึ้นฟันกรีด้านบนจะมี 8 ฟัน และด้านล่าง 2 ฟัน ความยาวของกรี จะยาวกว่าลูกตาไม่มาก ที่สังเกตเห็นเด่นชัดที่สุดคือลำไส้ของกุ้งชนิดนี้จะโตเห็นได้ชัด และตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้
กุ้งขาวแปซิฟิก (Litopenaeus Vannamei) หรือ Pacific white Shrimp หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า White Leg sShrimp เป็นกุ้งพื้นเมืองในทวีปอเมริกาใต้ พบอยู่ทั่วไปในบริเวณชายฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก จากตอนเหนือของประเทศเม็กซิโกจนถึงตอนเหนือของประเทศเปรู กุ้งชนิดนี้มีการเลี้ยงกันมากในประเทศเอกวาดอร์ เม็กซิโก เปรู ปานามา ฮอนดูรัส โคลัมเบีย และประเทศบราซิล ซึ่งประเทศบราซิลเป็นประเทศที่เริ่มเลี้ยงกุ้งขาวไม่กี่ปีมานี้ แต่มีผลผลิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากรัฐบาลประเทศบราซิลให้การสนับสนุนการเลี้ยงกุ้งขาวแปซิฟิกอย่างจริงจัง ทำให้ผลผลิตของประเทศบราซิลเพิ่มอย่างรวดเร็วจนเป็นอันดับ 1 ของประเทศในทวีปอเมริกาใต้ในขณะนี้
ลักษณะเฉพาะตัวของกุ้งขาว ลิโทพีเนียส แวนนาไม
กุ้งขาว ลิโทพีเนียส แวนนาไม มี 8 ปล้องตัว ลำตัวสีขาว ห้าอกใหญ่ การเคลื่อนไหวเร็ว ส่วนหัวมี 1 ปล้อง มีกรีอยู่ในระดับยาวประมาณ 0.8 เท่าของความยาวเปลือก หัวสันกรีสูง ปลายกรีแคบ ส่วนของกรีมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมีสีแดง อมน้ำตาล กรีด้านบนมี 8 ฟัน กรีด้านล่างมี 2 ฟัน ร่องบนกรีมองเห็นได้ชัด เปลือกหัวสีขาวอมชมพูถึงแดง ขาเดินมีสีขาวเป็นลักษณะที่ขาว่ายน้ำ 5 คู่ มีสีขาวข้างในที่หลายมีสีแดง ส่วนหางมี 1 ปล้อง ปลายหางมีสีแดงเข้ม แพนหางมี 4 ใบ และ 1 กรีหาง ขนาดตัวโตที่สมบูรณ์เต็มที่ของกุ้งสายพันธุ์นี้จะมีขนาดที่เล็กกว่ากุ้งกุลาดำ โดยความยาวจากกรีหัวถึงปลายกรีหาง 230 มิลลิเมตร (9 นิ้ว) ความยาวจากโคนหัวถึงปลายกรีหัว 65 มิลลิเมตร ความยาวจากโคนหัวถึงปลายกรีหาง 165 มิลลิเมตร เส้นรอบวงหัว 94 มิลลิเมตร เส้นรอบวงตัว 98 มิลลิเมตร แพนหางยาว 35 มิลลิเมตร ตาห่างกัน 20 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวเฉลี่ย 120 กรัม หากินทุกระดับความลึกของน้ำ ชอบว่ายล่องน้ำเก่ง ลอกคราบเร็วทุก ๆ สัปดาห์ ไม่หมกตัว ชอบน้ำกระด้างที่มีความกระด้างรวม 120 มิลลิกรัม ต่อลิตร มีค่าอัลคาไลน์ในช่วง 80-150 มิลลิกรัมต่อลิตร มีนิสัยที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะ ของน้ำในบ่อเพาะเลี้ยง ตื่นตกใจง่าย เป็นกุ้งที่เลี้ยงได้ทิ้งในระบบธรรมชาติและระบบกึ่งหนาแน่นโดยมีระดับน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร

.jpg)
การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมตามมาตรฐานจีเอพี
กรมประมงได้กำหนดหลักการเลี้ยงกุ้งทะเลด้วยวิธีการปฏิบัติที่ดี ที่รู้จักกันในชื่อ การเลี้ยงกุ้งระบบจีเอพี จำนวน ๗ ข้อ เพื่อยกระดับการเลี้ยงกุ้งให้มีมาตรฐานที่ผู้บริโภคเชื่อมั่น และใช้เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาสินค้าการเกษตรเพื่อการส่งออกนำรายได้เข้าสู่ ประเทศ ดังนั้นเจ้าหน้าที่กรมประมงที่ทำงานเกี่ยวข้องจะต้องรู้และเข้าใจถึงองค์ ความรู้ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงกุ้งขาวให้ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกษตรกรเกิดความเชื่อมั่นในการที่จะไปถ่ายทอดพัฒนาและแก้ไขปัญหาการ เลี้ยงกุ้งตามแนวทางมาตรฐานจีเอพีร่วมกับเกษตรกร องค์ความรู้ดังกล่าวมีรายละเอียดแยกเป็นหมวดหมู่ดังนี้ 1. เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาว เกษตรกรผู้ที่สนใจในการเลี้ยงกุ้งขาวควรมีการเตรียมความพร้อม และความรู้สำหรับการ ประกอบการฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาว ดังนี้ 1.1 ความรู้ในการเลี้ยงกุ้งขาว เกษตรกรต้องมีความรู้ใน การเลี้ยงกุ้งขาว หรือผ่านการฝึกอบรมหลักการเลี้ยงกุ้งขาว หรือกุ้งทะเล หรือมีประสบการณ์ในการเลี้ยงกุ้งขาวหรือกุ้งทะเลมาก่อน การมีความรู้หรือ ประสบการณ์นั้นมีความสำคัญต่อเกษตรกรมาก เพราะทำให้เกษตรกรมีความรู้เพียงพอที่จะเริ่มต้น และตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้ด้วยดี 1.2 การขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปัจจุบันกรมประมงกำหนดให้ เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อจัดทำฐานข้อมูลเกษตรกร ฐานข้อมูลเกษตรกรมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมกุ้งในด้านการวางแผนพัฒนาการเลี้ยง กุ้งให้มีมาตรฐานสูงขึ้น มีความยั่งยืน และสามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ยังเป็นฐานข้อมูลสำหรับภาครัฐในการสนับสนุนทางวิชาการ และสนับสนุนตามมาตรการอื่นๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว 2. การเลือกสถานที่ การเลือกสถานที่เป็น ปัจจัยสำคัญที่เกษตรกรต้องพิจารณาก่อนเริ่มต้นการเลี้ยง ตั้งแต่ความ เหมาะสมทางวิชาการ วิธีการเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ วางแผนผังการใช้พื้นที่ในฟาร์ม และการ บริหารจัดการฟาร์ม ซึ่งการตัดสินเลือกสถานที่เหมาะสมในขั้นตอนนี้ทำให้เกษตรกรสามารถจัดการ เลี้ยงกุ้งขาวได้ผลผลิตคุณภาพดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัญหาน้อยที่สุด คำแนะนำที่ดีมีดังต่อไปนี้ 2.1 การเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เกษตรกรต้องตัดสินใจใช้ ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อเลี้ยงกุ้งขาวเฉพาะในที่มีสิทธิตาม กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์หรือเป็นการเช่าอย่างถูกต้อง ไม่เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ห้ามเลี้ยงตาม กฎหมายหรือประกาศของหน่วยงานที่รับผิดชอบ พื้นที่เลี้ยงต้องไม่อยู่ในเขตอนุรักษ์ป่าชายเลน เพื่อให้เป็นไปตามที่ทางราชการได้กำหนด และเป็นการเลี้ยงกุ้งที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 2.2 ความเหมาะสมทางวิชาการ พื้นที่เลี้ยงกุ้งขาวควร มีความเหมาะสมทางวิชาการในหลายๆ ด้าน เช่น ตำแหน่งที่ตั้ง แหล่งน้ำ ลักษณะของดินในบริเวณพื้นที่ที่จะใช้ทำฟาร์มเลี้ยงกุ้ง เพื่อให้สามารถจัดการเลี้ยงได้ง่าย มีประสิทธิภาพ ไม่มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคทำให้การลี้ยงกงเกิดความเสียหาย หรือทำให้ต้องลงทุนสูงเกินไป ความเหมาะสมทางวิชาการยังครอบคลุมถึงสาธารณูปโภคที่จำเป็นสำหรับการทำฟาร์ม และ 2.2.1 แหล่งน้ำ แหล่งน้ำควรมีสภาพเหมาะสมเพราะเกษตรกรต้องใช้น้ำทะเลเลี้ยงกุ้ง ตลอดทั้งปี คุณภาพของแหล่งน้ำที่ต้องพิจารณาในเบื้องต้นคือ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ (pH) ใน บริเวณฟาร์มควรอยู่ในในช่วง ๗.๘-๘.๓ ตลอดทั้งปี มีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำโดยเฉพาะของน้ำที่บริเวณผิวหน้าดินบริเวณที่จะใช้ เป็นแหล่งน้ำ ต้องเพียงพอไม่ก่อให้เกิดความเน่าเสียและทำให้สัตว์น้ำตามธรรมชาติตาย แหล่งน้ำไม่ควรมีตะกอนมากจนทำให้มีการตกตะกอนตื้นเขิน ความเค็มของน้ำอยู่ที่เหมาะสมอยู่ในช่วงกว้าง ๒-๓๒ ส่วนในพันส่วน ถ้าเป็นแม่น้ำหรือคลองที่เชื่อมต่อกับทะเลควรมีความลึกที่เหมาะสมที่ทำให้ สามารถสูบน้ำได้ในเวลาที่ต้องการ พื้นที่ต้องอยู่เหนือระดับน้ำขึ้นสูงสุดเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม นอกจากนี้แหล่งน้ำ ควรไกลจากแหล่งมลพิษ เช่นโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งเกษตรกรรมที่ใช้สารเคมีในปริมาณมากหรือแหล่งน้ำทิ้งของชุมชนเมือง นอกจากนี้แหล่งน้ำในบ่อ ที่เลี้ยงกุ้งควรมีคุณภาพน้ำอื่นๆ ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้ง เพราะร่างกายและเหงือกของกุ้งสัมผัสกับน้ำตลอดเวลา น้ำจึงมีผลโดยตรงต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของกุ้ง คุณภาพน้ำไม่ดี นำไปสู่ปัญหาสัตว์น้ำเครียด ติดเชื้อโรค และตายในที่สุด 2.2.2 ลักษณะของดิน ควรเป็นดินที่มีปริมาณดินเหนียวมากพอที่จะทำให้สามารถอุ้มน้ำและก่อสร้างบ่อ เลี้ยงกุ้งได้ บ่อลักษณะที่เป็นดินเหนียวปนทราย จะเหมาะสำหรับสำหรับสร้างบ่อมากที่สุด ดินต้องไม่มีศักยภาพเป็นดินกรด (acid potential soil) หรือเป็นดินที่มีไพไรท์สูง สังเกตจากดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง ต่ำกว่า ๔ หรือมีสีสนิมเหล็ก เพราะเมื่อขุดสร้างบ่อแล้วดินจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศเปลี่ยนไพไรท์ ให้เป็นสนิมเหล็ก และกรดซัลฟิวริก ทำให้ดินและน้ำในบ่อมีความเป็นกรด-ด่างต่ำไม่เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์น้ำ ดินที่มีสภาพกรด จะทำให้ปล่อยไอออนของโลหะเช่น เหล็กและอลูมิเนียมออกมาจับกับฟอสเฟตเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถ เตรียมสีน้ำได้ และทำให้กุ้งโตช้า 2.2.2 พื้นที่เลี้ยงกุ้งจะต้องอยู่ในบริเวณที่การคมนาคมเข้าถึงโดยสะดวก โดยเฉพาะรถยนต์ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถขนอุปกรณ์ ลูกกุ้ง อาหารกุ้ง และปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรต้องใช้เป็นประจำทุกวัน ซึ่งความสะดวกสบายจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำสุด
อ้างถึง