หรือ Pacific white shrimp หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า White leg shrimp

เป็นกุ้งพื้นเมืองในทวีปอเมริกาใต้ พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก จากตอนเหนือของประเทศเม็กซิโกจนถึงตอนเหนือของประเทศเปรู กุ้งชนิดนี้มีการเลี้ยงกันมากในประเทศเอกวาดอร์ เม็กซิโก เปรู ปานามา ฮอนดูรัส โคลัมเบีย และบราซิล ซึ่งประเทศบราซิลเป็นประเทศที่เริ่มเลี้ยงกุ้งขาวไม่กี่ปี แต่มีผลผลิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากรัฐบาลประเทศบราซิลให้การสนับสนุนการเลี้ยงกุ้งขาวแปซิฟิกอย่างจริงจัง ทำให้ผลผลิตของประเทศบราซิลเพิ่มอย่างรวดเร็วจนเป็นอันดับ 1 ของประเทศในทวีปอเมริกาใต้ในขณะนี้
เนื่องจากกุ้งขาวแปซิฟิกที่เกษตรกรในประเทศไทยนิยมเรียกว่ากุ้งขาวแวนนาไมหรือเรียกกันว่า “กุ้งขาว” เป็นกุ้งที่เลี้ยงง่าย มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพ่อแม่พันธุ์ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มาเป็นเวลาช้านาน ทำให้มีการนำเข้าไปเลี้ยงในหลายๆ ประเทศ กุ้งชนิดนี้ได้มีการนำเข้ามาเลี้ยงในทวีปเอเชียครั้งแรกในประเทศไต้หวันปี พ.ศ. 2539 และต่อมาได้นำเข้าไปในประเทศจีนในปี พ.ศ. 2541 สำหรับประเทศไทยได้มีการนำกุ้งขาวเข้ามาทดลองเลี้ยงในปี พ.ศ. 2541 แต่การทดลองในครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จมากนัก จนกระทั่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 กรมประมงได้อนุญาตให้นำพ่อแม่พันธุ์ที่ปลอดเชื้อ (Specific Pathogen Free, SPF) จากต่างประเทศเข้ามาทดลองเลี้ยง ระยะเวลาการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ที่ปลอดเชื้อจากเดือนมีนาคม 2545-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในประเทศไทยกำลังประสบปัญหากุ้งโตช้า โดยเฉพาะในขณะที่จับกุ้งจะพบว่ามีกุ้งขนาดเล็กน้ำหนักประมาณ 3-5 กรัมเป็นจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดทุน ในขณะเดียวกันเกษตรกรบางส่วนได้ทดลองเลี้ยงกุ้งขาว ซึ่งส่วนใหญ่ให้ผลค่อนข้างดี จากกระแสการเลี้ยงกุ้งขาวที่ได้ผลดีกว่ากุ้งกุลาดำ ทำให้เกษตรกรจำนวนมากหันมาเลี้ยงกุ้งขาวกันมากขึ้น แต่เนื่องจากกุ้งขาวเป็นกุ้งชนิดใหม่ที่ไม่เคยเลี้ยงในประเทศไทยมาก่อน รายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรม การเลี้ยง การให้อาหาร ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลเกี่ยวกับการเลี้ยงยังไม่มีการศึกษามาก่อน ทำให้เกษตรกรบางส่วนมีปัญหาในเรื่องของกุ้งเป็นโรค ในเรื่องของลูกพันธุ์ที่มีคุณภาพไม่ดีหลังจากเลี้ยงไปแล้วมีปัญหากุ้งโตช้า และมีลักษณะผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น
เนื่องจากกุ้งขาวเป็นกุ้งที่มีการเลี้ยงอย่างแพร่หลายทั่วโลกมากกว่า 30 ประเทศ ดังนั้นในอนาคตการผลิตกุ้งขาวออกสู่ตลาดโลกจะมีปริมาณมาก โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2546 ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีการผลิตกุ้งมากที่สุดในโลกถึง 400,000 ตัน/ปี พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตจะมาจากกุ้งขาว ส่วนประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2545 ผลิตกุ้งขาวประมาณ 20,000 ตัน แต่ในปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยสามารถผลิตกุ้งขาวได้ประมาณ 170,000 ตัน จะเห็นได้ว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก และในขณะนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตกุ้งขาวได้มากเป็นอันดับสอง รองจากประเทศจีน
ลักษณะเฉพาะของกุ้งขาวที่สามารถสังเกตเห็นเด่นชัดคือ บริเวณฟันกรี (หนาม) ด้านบนจะหยักและถี่ ปลายกรีจะตรง โดยที่ฟันกรีด้านล่าง 2 อันและด้านบน 8 อัน ความยาวของกรีจะยาวกว่าลูกตาไม่มาก และที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ จะเห็นลำไส้กุ้งชนิดนี้ชัดกว่ากุ้งขาวอื่นๆ ขณะที่โตเต็มวัยสมบูรณ์เต็มที่ของกุ้งชนิดนี้จะมีความยาวทั้งหมด (total length) 230 มิลลิเมตร (9 นิ้ว)

พ่อแม่พันธุ์กุ้งขาว
เนื่องจากพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวทั้งหมดนำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่มาจากประเทศไต้หวัน จีน และ สหรัฐอเมริกา อาจจะมีการนำเข้าจากประเทศอื่นๆ บ้าง โดยเฉพาะประเทศแถบอเมริกาใต้ พ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวที่มีอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ มีลักษณะแตกต่างกันบ้างพอจะสังเกตได้ เช่น พ่อแม่พันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน ลักษณะสำคัญคือส่วนหัวจะโตกว่าพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งอื่นๆ ซึ่งสันนิษฐานว่า สายพันธุ์ที่นำเข้าไปในประเทศไต้หวันในระยะแรกน่าจะเป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากมลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมามีการผสมพันธุ์กับสายพันธุ์อื่นบ้างจนมีลักษณะที่เห็นในปัจจุบัน คือส่วนหัวจะโต และสีจะแดงเข้ม

ภาพที่ 6.1พ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน

ภาพที่ 6.2 พ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวที่นำเข้าจากมลรัฐฟลอริด้า

ภาพที่ 6.3 พ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวที่นำเข้าจากมลรัฐฮาวาย
การอนุบาลลูกกุ้งขาว
การผลิตลูกกุ้งขาวในปัจจุบันมีโรงเพาะฟักขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งกระบวนการผลิตอาจจะแตกต่างกันบ้าง แล้วแต่ประสบการณ์และความชำนาญของนักวิชาการ โรงเพาะฟักขนาดใหญ่ส่วนมากจะมีบ่อเพาะลูกกุ้งในโรงเรือน บางแห่งมีระบบการควบคุมอุณหภูมิของอากาศให้คงที่มากที่สุด แต่โรงเพาะฟักขนาดกลางบางแห่งยังนิยมมีบ่อเพาะเลี้ยงอนุบาลลูกกุ้งกลางแจ้ง สำหรับรายละเอียดในการอนุบาลลูกกุ้งขาวในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนรวบรวมมาจากวิธีการของอาจารย์ภิญโญ เกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้ประกอบการกุ้งขาวไทย ซึ่งใช้วิธีการอนุบาลลูกกุ้งขาวโดยใช้บ่อที่อยู่กลางแจ้ง เพราะต้องการให้แสงแดดฆ่าเชื้อต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันการหมักหมม โดยอาจารย์ภิญโญให้เหตุผลว่าการอนุบาลลูกกุ้งในโรงเรือน ถ้ามีเชื้อโรคต่างๆเกิดขึ้น แล้วการกำจัดจะยุ่งยากกว่าการอนุบาลกลางแจ้ง
6.4.1 การเตรียมน้ำ สำหรับอนุบาลลูกกุ้ง
ใช้น้ำเค็มจากนาเกลือที่มีความเค็มระหว่าง 80-100 พีพีที เนื่องจากความเค็มในช่วงนี้มีแร่ธาตุต่างๆ ครบถ้วน ถ้าน้ำเค็มจากนาเกลือที่มีความเค็มสูงมาก แร่ธาตุบางอย่างอาจจะตกตะกอนไปบ้างจะไม่เหมาะสมสำหรับนำมาอนุบาลลูกกุ้ง นำน้ำเค็มดังกล่าวมาผสมกับน้ำจืดให้ได้ความเค็ม 27 พีพีที ถ้าเป็นการอนุบาลในช่วงฤดูร้อน แต่ถ้าเป็นฤดูกาลอื่นๆ จะใช้ความเค็ม 30 พีพีที เมื่อผสมน้ำจืดจนได้ความเค็มตามที่ต้องการแล้วใช้คลอรีนผง (ความเข้มข้น 60 เปอร์เซ็นต์) เติมลงไปให้ได้ความเข้มข้น 20 พีพีเอ็ม (ประมาณ 50 กรัมต่อน้ำ1 ลูกบาศก์เมตร) เปิดเครื่องให้อากาศผสมคลอรีนผงให้ทั่ว ทิ้งไว้นาน 5 วันจนคลอรีนสลายตัวหมดแล้ว ดูดน้ำส่วนที่ใสเข้าไปในบ่อพักแล้วเติมเกลือแร่ลงไปเพื่อให้แน่ใจว่ามีแร่ธาตุที่สำคัญครบถ้วน ทิ้งไว้อีก 1 วันหลังจากนั้นให้น้ำผ่านเครื่องโอโซน เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจจะหลงเหลืออยู่ในน้ำ น้ำที่ผ่านเครื่องโอโซนแล้วเป็นเวลานาน 6 ชั่วโมงจะนำไปใช้ในการอนุบาลลูกกุ้ง ตั้งแต่เริ่มนำนอเพลียสมาใส่ในบ่อจนกระทั่งลูกกุ้งพัฒนาจนถึงระยะพี 12 กระบวนการเตรียมน้ำทั้งหมดแสดงไว้ในภาพที่ 6.18-6.21


ภาพที่ 6.21 บ่อทรีทน้ำ ภาพที่ 6.22 น้ำที่ผ่านการทรีทด้วยคลอรีน


ภาพที่ 6.23 น้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน ภาพที่ 6.24 บ่อซีเมนต์ทรง
แล้วจะผ่านเครื่องโอโซนอีกครั้ง กลมสำหรับอนุบาลลูกกุ้ง
6.4.2 บ่ออนุบาลลูกกุ้ง
ใช้บ่อกลมขนาดความจุ 2.7 ลูกบาศก์เมตร (ตัน) หลังจากเติมน้ำเต็มที่แล้วจะมีปริมาตรน้ำ 2.5 ลูกบาศก์เมตร เมื่อเริ่มอนุบาลลูกกุ้งจะใช้ระดับน้ำสูงเพียง 30 เซ็นติเมตรแล้วค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำเรื่อยๆ จนมีปริมาตร 2.5 ลูกบาศก์เมตร
สำหรับในช่วงฤดูร้อนจะเริ่มอนุบาลที่ระดับน้ำ 50 เซ็นติเมตร แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำ อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 28-30 องศาเซลเซียส
- นำนอเพลียสใส่ลงไปในบ่ออนุบาลรูปทรงกลมขนาดความจุ 2.7 ลูกบาศก์เมตรในอัตราความหนาแน่นบ่อละ 500,000 ตัว


ภาพที่ 6.25 นอเพลียสที่จะนำไปลงในบ่ออนุบาล ภาพที่ 6.26 บ่อเพาะแพลงก์ตอนคีโตเซอรอส
- เริ่มให้อาหารหลังจากนั้น 4-6 ชั่วโมง หรือเมื่อนอเพลียสเริ่มเข้าสู่ระยะซูเอีย 1 โดยให้แพลงก์ตอนคีโตเซอรอส (Chaetoceros sp.) เริ่มต้นที่ปริมาณ 20 ลิตรแล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณทีละน้อย โดยสังเกตจากการกินอาหารและการพัฒนาของลูกกุ้งประกอบด้วยมีการเสริมอาหารสำเร็จรูปสำหรับลูกกุ้งวัยอ่อนบ้างเล็กน้อย คีโตเซอรอสที่ให้เป็นอาหารต้องสะอาดไม่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน มีการตรวจโดยนำน้ำที่มากับหัวเชื้อคีโตเซอรอสไปเพาะเชื้อว่ามีแบคทีเรียวิบริโอหรือไม่บนอาหารเลี้ยงเชื้อ TCBS agarก่อนที่จะนำหัวเชื้อคีโตเซอรอสมาเพิ่มปริมาณสำหรับให้เป็นอาหารลูกกุ้ง
- เมื่อลูกกุ้งเริ่มเข้าระยะซูเอีย 2 เริ่มเสริมอาร์ทีเมียเป็นอาหารด้วยปริมาณ 10 กรัมต่อบ่อ แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณโดยสังเกตการกินอาหารและการเจริญเติบโตของลูกกุ้งประกอบในการตัดสินใจเพิ่มอาหารตัวอ่อนอาร์ทีเมียจะนำมาแช่ในน้ำอุ่นก่อนแล้วนำไปแช่เย็น เพื่อลดการเคลื่อนไหวลูกกุ้งจะได้กินสะดวกขึ้น

ภาพที่ 6.27 ลักษณะของสีน้ำในบ่ออนุบาล
- ลูกกุ้งจะพัฒนาจากซูเอีย 1 จนถึงไมซิสใช้เวลานานประมาณ 5 วัน
- เมื่อลูกกุ้งเข้าสู่ระยะโพสลาวาร์ 1-2 (พี 1-2) จะเสริมสาหร่ายสไปรูไลน่าผงลงไปด้วยและเริ่มลดคีโตเซอรอส การอนุบาลลูกกุ้งขาวตามวิธีของอาจารย์ภิญโญใช้ระบบน้ำมีสีแพลงก์ตอน ซึ่งจะมีสีน้ำตาลไม่ใช้ระบบน้ำใส ในระหว่างการอนุบาลลูกกุ้งขาวจะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะใดๆ เลย
6.4.3 การควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรีย
การตรวจเช็คปริมาณเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ ถ้ามีปริมาณเชื้อแบคทีเรียโคโลนีสีเหลืองมากบนอาหารเลี้ยงเชื้อ TCBS agar จะควบคุมปริมาณแบคทีเรียโดยใช้ไอโอดีนในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น
ถ้าปริมาณแบคทีเรียวิบริโอโคโลนีสีเขียวมีไม่มาก คือน้อยกว่า 10 โคโลนีต่อน้ำตัวอย่าง 1 ซีซี. ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ส่วนโคโลนีสีเหลืองไม่ควรเกิน 60 โคโลนีต่อน้ำตัวอย่าง 1 ซีซี. และต้องไม่พบเชื้อวิบริโอเรืองแสง
6.4.4 การควบคุมคุณภาพน้ำ
พีเอชที่เหมาะสมระหว่างการอนุบาลลูกกุ้งขาวระหว่าง 7.8-8.5
อุณหภูมิน้ำที่เหมาะสมระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส ถ้ากรณีที่อากาศร้อนจัดจะใช้พลาสติกปกคลุมบ่ออนุบาล และเปิดsprinkle ให้ละอองน้ำช่วยลดอุณหภูมิภายในบ่ออนุบาล


ภาพที่ 6.28 กลางวันที่อากาศร้อนจัดจะเปิดเปิด sprinkle ให้ละอองน้ำช่วยลดอุณหภูมิ
ในช่วงที่อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำ จะใช้วิธีเปิดไฟเพื่อเพิ่มอุณหภูมิของอากาศที่จะเข้าไปในระบบการให้ออกซิเจนในบ่ออนุบาล
ในระหว่างการอนุบาลจะมีการตรวจวัดปริมาณแอมโมเนียด้วย
เริ่มมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เมื่อลูกกุ้งอยู่ในระยะไมซิส 2-3 โดยเริ่มเปลี่ยนถ่ายน้ำเล็กน้อยตามความเหมาะสม

ภาพที่ 6.29 ห้องเพิ่มอุณหภูมิของอากาศในช่วงอุณหภูมิต่ำ
การอนุบาลตั้งแต่ระยะนอเพลียสจนถึงระยะพี 1-2 ใช้น้ำความเค็มปกติ แต่เมื่อลูกกุ้งเข้าสู่ระยะตั้งแต่พี 3-4 จะเริ่มลดความเค็มของน้ำ เพื่อลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียวิบริโอและกำจัดลูกกุ้งที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรงออกไป ลูกกุ้งที่เหลือจะมีเฉพาะตัวที่แข็งแรงเท่านั้น การลดความเค็มของน้ำมีการลดในตอนเช้าประมาณ 5 พีพีที และตอนเย็น 5 พีพีที ดังนั้นภายในวันที่ 3 จะสามารถลดความเค็มให้เหลือ 5 พีพีที ลูกกุ้งจะอยู่ในระยะพี 7-8
ถ้าต้องการนำลูกกุ้งไปเลี้ยงที่น้ำความเค็มสูงกว่า 5 พีพีทีก็ปรับเพิ่มความเค็มขึ้นมาใหม่ตามที่ต้องการ อัตรารอดสำหรับอนุบาลลูกกุ้งโดยเฉลี่ยประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์
6.4.5 อายุที่เหมาะสมสำหรับลูกกุ้ง
ลูกกุ้งขาวที่เหมาะสมเพื่อนำไปเลี้ยงในบ่อควรมีอายุไม่ต่ำกว่าระยะพี 12 เนื่องจากลูกกุ้งตั้งแต่ระยะพี 10 จะมีการพัฒนาเหงือกสมบูรณ์ ในกรณีที่ต้องการเลี้ยงในน้ำที่มีความเต็มต่ำ ควรจะอนุบาลให้ลูกกุ้งมีอายุมากกว่าพี 12 อัตรารอดจะสูงขึ้น
6.4.6 การบำบัดน้ำทิ้ง
น้ำที่ใช้ในการอนุบาลลูกกุ้งทั้งหมดจะนำไปเก็บไว้ในบ่อพักน้ำ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ โดยมีการบำบัดตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


ภาพที่ 6.30 บ่อรวบรวมน้ำที่ผ่านการใช้ ภาพที่ 6.31 สูบน้ำจากบ่อพักน้ำที่ใช้แล้ว
แล้วในการอนุบาลลูกกุ้ง เข้ามาในบ่อซีเมนต์
น้ำที่สูบเข้ามาเพื่อบำบัดแล้วนำไปใช้ใหม่จะมีสีน้ำตาล พีเอชจะต่ำ ดังนั้นจะมีการเติมปูนขาวลงไป เพื่อทำให้น้ำตกตะกอนให้อากาศตลอดเวลา จะทำให้ปริมาณแอมโมเนียลดลง ถ้าพีเอชของน้ำสูงกว่าปกติ เนื่องจากการเติมปูนขาวจะใช้ยิปซั่ม (CaSO4) เติมลงไปพีเอชของน้ำจะลดลงจนอยู่ในระดับที่เหมาะสม น้ำจะใสนำมาใช้ต่อไปได้
อ้างอิงถึง
-http://www.thailandshrimp.org/agriculture_vannamei1.html
-http://www.aquatoyou.com/index.php/2013-02-20-09-15-14/906-2013-05-19-01-02-21